หน้าเว็บ

แปลภาษา

10 เเห่งน่าเที่ยว ในกรุงเทพ

 
ตลาดนัดจตุจักร
1.ตลาดนัดจตุจักร
ตลาดนัดจตุจักร เป็นตลาดนัดในกรุงเทพมหานคร มีจำนวนแผงค้าทั้งหมดมากกว่า 8,000 แผงค้า แบ่งเป็น 27 โครงการ มีสินค้า 8 ประเภท ได้แก่ ผักและผลไม้ เสื้อผ้า สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ อาหารปรุง อาหารสำเร็จรูป อาหารสด และเบ็ดเตล็ด

27 โครงการในตลาดนัดจตุจักร

    โครงการ 1                                                   โครงการ 15
     ของเก่าและของสะสม                                     สินค้าหัตถกรรม
     ศิลปะ                                                         เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค
     หนังสือ
     สินค้าหัตถกรรม                                            โครงการ 16
                                                                     เสื้อผ้าและเครื่องประดับ
    โครงการ 2           
     สินค้าหัตถกรรม                                            โครงการ 17
                                                                     สินค้าหัตถกรรม
    โครงการ 3                                                   เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค
     ต้นไม้และอุปกรณ์สวน
     เสื้อผ้าและเครื่องประดับ                                  โครงการ 18
     เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน                        เสื้อผ้าและเครื่องประดับ
     อาหารและเครื่องดื่ม
                                                                     โครงการ 19
    โครงการ 4                                                   สินค้าหัตถกรรม
     ต้นไม้และอุปกรณ์สวน                                    เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค
     เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน   
     อาหารและเครื่องดื่ม                                      โครงการ 20
                                                                     เสื้อผ้าและเครื่องประดับ
    โครงการ 5                                                   สินค้าหัตถกรรม
     เสื้อผ้ามือสองและสินค้าเบ็ดเตล็ด                      เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค
           
    โครงการ 6                                                   โครงการ 21
     เสื้อผ้ามือสองและสินค้าเบ็ดเตล็ด                      เสื้อผ้าและเครื่องประดับ
           
    โครงการ 7                                                   โครงการ 22
     ศิลปะ                                                         เสื้อผ้าและเครื่องประดับ

    โครงการ 8                                                   โครงการ 23
     สินค้าหัตถกรรม                                            เสื้อผ้าและเครื่องประดับ
     สัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง   
     เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน                        โครงการ 24
                                                                     สินค้าหัตถกรรม
    โครงการ 9           
     สินค้าหัตถกรรม                                            โครงการ 25
     สัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง                สินค้าหัตถกรรม
                                                                     เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค
    โครงการ 10                                                 ผ้าไหม
     อาหารและเครื่องดื่ม       
     สินค้าหัตถกรรม                                            โครงการ 26
                                                                     อาหารและเครื่องดื่ม
    โครงการ 11                                                 ของเก่าและของสะสม
     สินค้าหัตถกรรม
     สัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง                โครงการ 27
                                                                      เสื้อผ้าและเครื่องประดับ
    โครงการ 12                                                  หนังสือ
     เสื้อผ้าและเครื่องประดับ                                  อาหารและเครื่องดื่ม

    โครงการ 13
     สินค้าหัตถกรรม
     สัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง
     เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค

     โครงการ 14
      เสื้อผ้าและเครื่องประดับ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

2.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า (พื้นที่พระราชวังของสมเด็จพระบวรราชเจ้าตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมามีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนามหลวงตอนเหนือ อนุสาวรีย์ทหารอาสา และโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน) ในสมัยรัชกาลที่ 1 ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงละครแห่งชาติ ตรงข้ามสนามหลวง ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่งต่าง ๆ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย หมู่พระวิมาน พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ และ อาคารมหาสุรสิงหนาท

พระที่นั่งวิมานเมฆ
3.พระที่นั่งวิมานเมฆ
เป็นพระที่นั่งในพระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร พระที่นั่งองค์นี้ เป็นอาคารแบบวิกตอเรีย ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมยุโรป ผสมกับไทยประยุกต์ องค์พระที่นั่งเป็นรูปอักษรตัวแอล (L) ในภาษาอังกฤษ ยาวด้านละ 60 เมตร สูง 20 เมตร เป็นอาคาร 3 ชั้น ยกเว้นตรงส่วนที่ประทับซึ่งมีรูปร่างเป็นแปดเหลี่ยม มี 4 ชั้น ชั้นล่างสุดก่ออิฐ ถือปูน ชั้นถัดขึ้นไปสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหมดทาด้วยสีครีมอ่อนหลังคาสีแดง และหลังคาเป็นทรงไทยประยุกต์ มีลวดลายตามหน้าต่าง และช่องลมซึ่งฉลุเป็นลายที่เรียกว่าขนมปังขิง
สำหรับพระที่นั่งวิมานเมฆนี้จะแบ่งเป็นห้องชุดต่างๆ 5 สีด้วยกัน คือสีฟ้า เขียว ชมพู งาช้าง และสีลูกพีช (ชมพูอมส้ม) แต่ละห้องจะจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 5 รวมถึงเจ้านายชั้นสูง เช่น ห้องสีเขียว เป็นห้องเครื่องเงินจากประเทศจีน ส่วนชั้นสองเป็นห้องทรงงานของรัชกาลที่ 5 และห้องบนชั้นสามจะเป็นห้องบรรทม แต่ห้องที่งดงามที่สุดในพระที่นั่งวิมานเมฆเห็นจะเป็นห้องท้องพระโรง ที่มีบรรยากาศขรึมขลังอลังการมากที่สุด

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
4.วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
5.วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร[2] และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551[3] และวันที่ 16 มิถุนายน 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลก ในทะเบียนนานาชาติ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์[4] พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำดับที่ 24 ของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนในปีนั้นถึง 8,155,000 คน

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
6.วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ที่นำมาจากกรุงเวียงจันทน์ และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส
วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด การบูรณะครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามในโอกาสที่มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามอีกครั้งใน พ.ศ. 2525 เมื่อมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการบูรณะ
วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่สำคัญและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ

พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด
7.พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด
วังสวนผักกาด เดิมเป็นสวนผักกาด เป็นวังที่ประทับของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต และ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร (เทวกุล) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 6 ไร่ บนถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยสร้างเพื่อประทับในช่วงสุดสัปดาห์ และเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชมศิลปะและโบราณวัตถุ โดยที่เจ้าของบ้านยังใช้เป็นที่พำนักอยู่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ภายหลังจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2502 พระชายา คือ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ได้มอบให้วังสวนผักกาดอยู่ในความดูแลของ มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ และเปิดเป็น พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดตั้งแต่นั้นมา

พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน
8.พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน
พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน (Jim Thompson House) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ ตั้งอยู่ที่บ้านเรือนไทยของจิม ทอมป์สัน ริมคลองแสนแสบ ฝั่งตรงข้ามคลองกับชุมชนบ้านครัว ซึ่งเป็นชุมชนมุสลิม เป็นชุมชนทอผ้าแห่งหนึ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ในพระนคร จิม ทอมป์สันย้ายมาอาศัยอยู่ที่นี่ตั้งแต่ พ.ศ. 2490 จนกระทั่งหายสาบสูญเมื่อ พ.ศ. 2510
ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน อยู่ในความดูแลของมูลนิธิจิม ทอมป์สัน จัดแสดงศิลปวัตถุของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะพระพุทธรูปยุคสมัยต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ตัวอาคารเรือนไทยได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2539 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
9.วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมชื่อ วัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ภายหลังได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสวนดุสิตขึ้นพระองค์ทรงทำผาติกรรมสถาปนาวัดขึ้นใหม่และพระราชทานามว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อันหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัด
 
พระบรมมหาราชวัง

10.พระบรมมหาราชวัง
พระบรมมหาราชวัง ( Grand Palace) หรือพระราชวังพระนคร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ปัจจุบัน พระบรมมหาราชวังเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมในปี พ.ศ. 2549 เป็นจำนวนถึง 8,995,000 คน

อ่านต่อเเบบเต็ม>>



บริการท่องเที่ยวทั่วโลกครบวงจร

>จองโรงแรม > worldwide >>> คลิก
>จองตั๋วเครื่องบิน > worldwide >>> คลิก
>เช่ารถยนต์ > worldwide >>> คลิก
>แพกเกจทัวร์ > worldwide >>> คลิก
>ตั๋วรถทัวร์ไทย > Thailand >>> คลิก

 

By dudeetravel


ID LINE : @dudeetravel
เว็บไซด์ : http://www.dudeetravel.com/
แฟนเพจ : www.facebook.com/DUDEETRAVEL/

Translate